รีวิว Thor Love and Thunder
เรียกได้ว่าเป็นซูเปอร์ฮีโรตัวแรกของมาร์เวล สตูดิโอเลยก็ว่าได้สำหรับ ธอร์ (Thor) ที่ได้มีหนังเรื่องที่ 4 เป็นของตัวเองในชื่อ ‘Thor Love and Thunder’ โดยได้ ไทกา ไวทิทิ (Taika Waititi) ผู้กำกับชาวนิวซีแลนด์ที่เคยกุมบังเหียน ‘Thor Ragnarok’ หนังภาคที่ 3 ของธอร์มาก่อนหน้านี้ โดยจากตัวอย่างหนังเราก็พอจะคาดหวังได้แล้วว่าสิ่งที่จะได้เห็นแน่ ๆ คือการกลับมาของตัวละคร ดร.เจน ฟอสเตอร์ ของนาตาลี พอร์ตแมน (Natalie Portman) ในคราบของฮีโรธอร์คนใหม่และการร่วมทางไปทั่วกาแล็กซีไปกับเหล่า ‘Guardian of the Galaxy’ หนังแนะนำใหม่
บุรุษผู้เป็นตำนานไวกิงอวกาศ ที่จริงเขาเป็นเทพเจ้าธอร์ (Chris Hemsworth จากหนังเรื่อง ‘Extraction’, ‘Avengers: Endgame’ และ ’12 Strong’) บุตรแห่งโอดินผู้ที่มีชีวิตระหกระเหินอยู่ในหลายดินแดน ผ่านทั้งความทุกข์ระทมช้ำรัก ขณะเดียวกันก็สูญเสียครั้งแล้วครั้งเล่า จนคิดปลีกตัวออกผจญภัย มาถึงปัจจุบัน เขากลับมามีรูปร่างบึกบึนสมส่วนอีกครา เขาได้รับรู้ว่าตอนนี้กำลังมีวายร้ายตัวใหม่ กอร์ (Christian Bale จากหนังเรื่อง ‘Ford v Ferrari’, ‘The Big Short’ และ ‘The Dark Knight’) ถือกำเนิดขึ้น และมันถูกเรียกขานกันในนาม ‘มือสังหารเทพเจ้า’
เพราะความผิดหวังในเทพเจ้าแท้ๆ เลยที่ทำให้กอร์กลายเป็นตัวร้ายไปเช่นนี้ ดูหนัง
เมื่อธอร์เข้ามาปราบตัวร้ายอย่างกอร์ เขาแสวงหาความช่วยเหลือ และเขาก็ได้ ราชาวัลคีรี่ (Tessa Thompson จากหนังเรื่อง ‘Men in Black: International’ และซีรีส์เรื่อง ‘Westworld’) และ คอร์ก (Taika Waititi จากหนังเรื่อง ‘Free Guy’ และ ‘The Suicide Squad’) มาเป็นผู้ร่วมอุดมการณ์
แล้วเขาก็ได้พบกับเจน ฟอสเตอร์ คนรักเก่าอีกหนในภาพลักษณ์ของซูเปอร์ฮีโร่ชื่อ ไมตี้ธอร์ (Natalie Portman จากหนังเรื่อง ‘Annihilation’, ‘Black Swan’ และ ‘Jackie’)
รายละเอียดเกี่ยวกับหนัง
ชื่อภาพยนตร์ Thor: Love and Thunder / ธอร์ ด้วยรักและอัสนี
กำกับ Taika Waititi
เขียนบท Taika Waititi (story), Jennifer Kaytin Robinson
แสดงนำ Chris Hemsworth, Natalie Portman, Christian Bale, Tessa Thompson/เทซซ่า ทอมป์สัน, Taika Waititi/ไทก้า ไวตีติ, Russell Crowe
แนว/ประเภท Action, Adventure, Comedy, Fantasy, Romance, Sci-Fi
เรท MPAA/u13+
ความยาว 118 นาที
ปี 2022
สัญชาติ สหรัฐอเมริกา
เข้าฉายในไทย 6 กรกฎาคม 2022
ผลิต/จัดจำหน่าย Marvel Studios, Fox Studios Australia, Walt Disney Pictures
หากให้คำนิยามสั้น ๆ สำหรับ Thor: Love and Thunder ธอร์: ด้วยรักและอัสนี (ที่ไม่มีวสันต์) คงต้องเป็น สนุก ดูง่าย ขำได้แทบทุกฉาก เพราะเป็นภาพยนตร์ที่อัดมุกมาแน่นราวกับกลัวคนดูไม่ขำ เก็บครบไม่ว่าจะห้าบาท สิบบาท หรือ เหรียญสตางค์ กับเรื่องราวของ ธอร์ (รับบทโดย คริส เฮมส์เวิร์ธ) ผู้กำลังตามหาความสงบจากภายในหลังจากเผชิญ
ความสูญเสียมาหลายครั้ง เขากลับมาดูแลตัวเองให้หุ่นดีและออกทำภารกิจช่วยเหลือตามแต่คนจะร้องขอ และคราวนี้เขาก็ต้องเผชิญหน้ากับภารกิจใหญ่ เมื่อมีกอร์ นักเชือดเทพเจ้า (รับบทโดย คริสเตียน เบล) ออกล่าชีวิตเทพเจ้าไปทุกที่ ทำให้เขาต้องหาทางเอาชนะกอร์ให้ได้ และในขณะเดียวกันหัวใจของธอร์ก็ต้องสั่นไหวเหมือนโดนสายฟ้าฟาด
เมื่อเจน (รับบทโดย นาตาลี พอร์ทแมน) แฟนเก่าที่หายไปจากชีวิตเขาถึง แปดปี เจ็ดเดือน กับหกวัน กลับเข้ามาในชีวิตในฐานะไมตี้ธอร์ พร้อมกับควงโยเนียร์ค้อนเก่าของเขากลับมาด้วย คราวนี้ถ่านไฟเก่าจะร้อนรอวันรื้อฟื้นหรือไม่ต้องมาดูกัน
รีวิว Thor Love and Thunder
อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่านี่เป็นภาพยนตร์ดูง่าย ไม่เครียด ความเศร้าอยู่ไม่นานก็สลายตัวไปอย่างเร็ว ภาพสวย รวยฉากแอ็คชั่นที่ทำได้ดีเสมอตามมาตราฐานมาร์เวล ทำให้ Thor: Love and Thunder ธอร์: ด้วยรักและอัสนี สนุกตลอดเรื่องแบบไม่มีหยุดพัก โดยมีสไตล์ที่ต่อเนื่องกับภาคก่อน Thor Ragnarok แต่ถ้าหากภาคก่อนล้างความเป็นธอร์
ในแบบสองภาคแรกไปจดหมดเหมือน ในภาคนี้ความเป็นธอร์ก็ถูกหลอมรวมขึ้นมาใหม่และสมบูรณ์ในที่สุด ซึ่งคล้ายกับจะสื่อผ่านการที่โยเนียร์แตกเป็นเสี่ยง และรวมขึ้นมาใหม่ในภาคนี้
หากมองอีกมุมหนึ่งความเป็นธอร์ที่เปลี่ยนไปจากสองภาคแรกก็คล้ายจะสะท้อนความเป็นชายที่สมบูรณ์แบบซึ่งเปลี่ยนไปตามยุคสมัย จากที่เคยเป็นเทพที่สมบูรณ์แบบทั้งรูปกายภายนอก พละกำลัง ความเก่งกาจ กล้าหาญ เป็นที่สุดของ sterotype ความเป็นชาย เขาได้กลายเป็นคนที่สูญสิ้นสิ่งนั้นไปทั้งหมดใน Thor Ragnarok ค่อย ๆ กู้มันกลับมาใน
ท้ายเรื่อง ก่อนจะกลับมาสู่ความเป็นชายที่สูมบูรณ์แบบในบริบทของปัจจุบันในภาคนี้โดยมีจิตใจที่ดี ไม่เห็นแก่ตัว เอาสวัสดิภาพของคนรักมาก่อน ไม่เกรงกลัวหรือหวั่นไหวเมื่อมีผู้หญิงเก่งมายืนข้าง ๆ หรือนำหน้าในบางครั้ง ไม่แบ่งแยกเพศหรือชาติพันธุ์ แบ่งปันพลังของตนเองให้คนอื่นได้ การเป็นผู้ชายที่เจ็บได้ร้องไห้เป็น ก้าวข้ามผ่านความรู้สึกของ
การสูญเสียได้ แต่ก็ยังคงเอกลักษณ์ของความเป็นธอร์ในแบบดั้งเดิมคือการใช้ตัวละครและการเชื่อมโยงกับศาสนาและตำนานกรีก อย่างการปรากฏตัวของเทพต่าง ๆ รวมไปถึงซูส การนำละครเวทีซึ่งเป็นหนึ่งในอารยธรรมกรีกเข้ามาร่วมด้วย
ความรู้สึกหลังดู
เอาเข้าจริงแล้ว ไม่จำเป็นต้องดูภาคไหนมาก่อน หรือลืมเลือนภาคเก่าไปแล้วก็ไม่ได้เป็นปัญหาอะไรนะ เพราะด้วยตัวเรื่องเองก็มีลักษณะของการเล่าเป็นตำนานจากอดีตผ่านมาถึงปัจจุบัน เหมือนช่วยเรารำลึกฟื้นอดีตของธอร์ไปด้วยในตัว
ผู้ร้ายในภาคนี้ คือ กอร์ (ที่รับบทโดยอดีตผู้รับบทแบทแมน) ผู้เคยเป็นสาวกของเทพองค์หนึ่ง ทว่าเมื่อเขาต้องทนทุกข์อยู่ท่ามกลางทะเลทรายอันแห้งแล้งจนสูญเสียลูกสาวสุดที่รักไปโดยไร้ความสนใจใยดีจากเทพที่เขาเฝ้าอ้อนวอน สุดท้าย เมื่อเขาได้รับ ‘ดาบเนโครซอร์ด’ สุดยอดอาวุธที่สามารถสังหารเทพได้ เขาจึงขอปฏิญาณตนไว้ว่า จะขอล้างบางทวยเทพให้สิ้นซาก
ขณะที่ ธอร์เองแม้เป็นเทพแต่ก็เผชิญกับวิกฤติชีวิตมากมายหลายหลาก ทั้งชีวิตการเป็นซูเปอร์ฮีโร่ทั้งเดี่ยวทั้งร่วมมือกับอะเวนเจอร์ส ไหนจะมีความรักกับมนุษย์แต่ก็ไปไม่รอดแถมยังติดค้างอยู่ในใจ สูญเสียไปหลายทั้งพี่สาว น้องชาย คนสนิท ไหนจะพ่ออีก ปลีกวิเวกไปอยู่เดี่ยวมั่ง ขุนตัวเองจนอ้วนพีก็แล้วมั่ง สุดท้ายกลับมาใหม่ ออกกำลังจนหุ่นแซ่บเหมือนเดิม พร้อมอาวุธคู่ใจอย่างขวานเล่มโตที่ชื่อ ‘Stormbreaker’ มาทำภารกิจใหม่ ปราบปรามกอร์ นักสังหารเทพเจ้า
รวบรวมพลพรรคที่รู้ใจว่า ราชาวัลคีรี่, คอร์ก และเหล่า Guardians of the Galaxy แถมยังได้ เจน ฟอสเตอร์ หวานใจที่เคยห่างกันหลายปีกลับมาใหม่ด้วยลุคชวนเซอร์ไพรซ์ เมื่อเธอกลายเป็น ไมตี้ธอร์ แถมยังใช้ค้อนโยเนียร์ อาวุธคู่กายชิ้นเก่าที่แตกไปแล้วเสียด้วยอีก งานนี้คือ ‘ถ่านไฟเก่า’ ล้วนๆ เลย
เมื่อได้องค์ประกอบครบสูตรแล้ว หนังก็เริ่มฟาดไม่ยั้งด้วยการเดินเรื่องสุดเร้าใจ สลับกันไปกับมุกกวนๆ ตามแบบฉบับของ Taika Waititi เลยทำให้ ‘Thor: Love and Thunder’ กลายเป็นหนังซูเปอร์ฮีโร่ที่ดูเอามัน ดูเอาบันเทิง ได้ดีประมาณหนึ่ง แม้อะไรบางอย่างมันจะง่ายเกินไปบ้าง นัยว่าตัดบางอย่างไปเพื่อเล่าเรื่องที่แฟนหนังต้องการอะไรประมาณนั้น
อีกหนึ่งประเด็นที่น่าสนใจใน Thor: Love and Thunder คือตัวละครกอร์ ผู้มีความแค้นกับเทพเจ้าที่เพิกเฉยต่อคำร้องขอและเยาะหยันสาวกของเขาจนเกิดเป็นภารกิจการสังหารเทพเจ้าครั้งใหญ่ ก็ชวนให้นึกถึงเหตุการณ์ความรุนแรงในสหรัฐที่เกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง การที่กอร์นั้นไม่ได้เป็นบ้า แต่ทำทุกอย่างเพราะความปราถนาที่จะแก้แค้นของเขาซึ่งทำให้
เขาเป็นผู้ที่ถูกดาบเนโครซอร์เลือกและได้รับพลังจากมัน ก็ชวนให้นึกถึงการที่นักวิชาการหลายคนได้ออกมาพูดถึงการที่การสังหารหมู่นั้นไม่ได้เกิดจากการที่ฆาตกรนั้นวิกลจริต แต่พวกเขามีสติสัมปชัญญะและการวางแผนอย่างรอบคอบ แต่แน่นอนว่าสถานการณ์ที่อยู่รอบตัวเขานั้นเป็นหนึ่งในสาเหตุทีทำให้เกิดความคิดทำจะทำแบบนั้นได้ บทความจาก
ABC เผยว่าหลังการระบาดของโควิด-19 ความถี่ของเหตุการณ์กราดยิงนั้นเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เพราะสถานการณ์เพิ่มความกดดันทางจิตใจและการเงิน ผ่านความกลัวความตาย ความโดดเดี่ยวทางสังคม ความยากลำบากทางเศรษฐกิจ และความไม่แน่นอน ซึ่งอาจจะนำมีสู่การเพิ่มความถี่ของการก่อเหตุกราดยิงได้ ซึ่งก็ไม่ต่างกับสถานการณ์ที่กอร์
เผชิญ ทั้งความยากแค้น ความตายที่มารออยู่ตรงหน้า และสภาพจิตใจที่ย่ำแย่จากการเสียบุคคลอันเป็นที่รัก ซึ่งสิ่งนี้อาจจะเชื่อมโยงให้เห็นว่าต้นเหตุของโศกนาฏกรรมนั้นอาจจะมาจากการบริหารงานที่ย่ำแย่และความเพิกเฉยของผู้นำ ซึ่งเทียบได้กับเทพเจ้าที่บันดาลความเป็นไปของประชาชน ซึ่งทำให้พวกเขาต้องตกอยู่ในสถานการณ์เช่นนี้นั่นเอง
สิ่งที่น่าเสียดายคือส่วนที่เป็นดราม่าของเรื่อง ทั้งบทบาทกอร์ที่มีอยู่ไม่มากนักในเรื่อง และปมอาการป่วยของเจนที่เป็น ‘เนื้อ’ ของเรื่อง เป็นเหตุเป็นผลที่ทำให้เรื่องมีน้ำหนักนั้นมีอยู่น้อยไปนิด เมื่อเทียบน้ำซึ่งก็คือมุขและความบันเทิงต่าง ๆ ที่ไม่ได้เดินเรื่องมากเท่าไหร่ แต่ก็ยังดีที่ได้นักแสดงอย่าง นาตาลี พอร์ตแมน ที่อาศัยความเก๋าเอาเรื่องจนอยู่หมัด
และคริสเตียน เบล ที่เล่นน้อยแต่สื่อความหมายได้อย่างชัดเจนจนผู้ชมสามารถเข้าใจตัวละครอย่างทะลุปรุโปร่งได้เพียงแค่สบตาเขาในจอ บวกกับการแสดงที่อยู่ตัวของนัก
แสดงคนอื่น ๆ ทำให้เนื้อที่มีอยู่น้อยอร่อยทุกคำ และลีลาการปรุงรสของ ไทก้า ไวทีที ที่มีเพลงประกอบเด็ด ๆ และจังหวะตลกที่โบ๊ะบ๊ะโดนใจผู้ชมเป็นผงชูรส ส่ง Thor: Love and Thunder ธอร์: ด้วยรักและอัสนี ถ้าเปรียบเป็นอาหารก็คงจะเป็นก๋วยเตี๋ยวอีกหนึ่งชามที่คุ้นลิ้นผู้ชม อร่อย กินได้เรื่อย ๆ เพลิน ๆ จนหมด
และได้แต่รอชิมชามถัดไปว่าคราวหน้าจะมีอะไรแปลกใหม่ให้ลองหรือไม่ Thor: Love and Thunder ธอร์: ด้วยรักและอัสนี เข้าฉายแล้ววันนี้